วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

MACD สัญญาณ ตัดซื้อตัดขาย $$$ ซื้อง่าย ขายคล่อง $$$

MACD

รูปแบบ ของ MACD จะเป็นการ ใช้ เส้น ของ  MACD ตัดกับ เส้น Signal

โดย กำหนดที่ MACD เป็นเส้นสีเขียว และ Signal เป็นเส้นสีแดง  ตามภาพ



ซึ่งเส้น VLINE ที่มีค่าเท่ากับ 0.00

จุดที่เข้าซื้อและขาย ตามสัญญาณของ MACD


การเข้าซื้อ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เส้น MACD ตัดและอยู่เหนือเส้น Signal

ตามภาพ





ซึ่งหลังจากที่ได้จุดที่เข้าซื้อแล้ว ซึ่งแน่นอนเราอาจจะไม่ได้ซื้อ ณ วันที่ตัดได้พอดีหรอก แต่เมื่อเกิดสัญญาณ ในทิศทางที่ตัดขึ้นสำหรับซื้อแล้ว ช่วงเวลาที่ เส้น MACD ตัดอยู่เหนือเส้น Signal ก็ยังพอที่จะตามเข้าไปซื้อต่อได้



ตามรูปกรอบสี่เหลี่ยมสีขาว จะเป็นจุดที่พอที่จะตามซื้อได้


ที่นี้ มาที่จุดขายบ้าง เมื่อไรขาย ???

ในกรณี ที่เส้น MACD อยู่เหนือเส้น Signal จะเป็นการตัดของสัญญาณซื้อ ในทิศทางที่ตรงกันข้าม เมื่อ

เส้น MACD อยู่ใต้เส้น Signal ก็เป็นสัญญาณ ขาย

รูปแบบจะตามภาพ



ก็จะเป็นรูปแบบการขาย จากสัญญาณของ MACD

ถ้าเรามาใช้ดู MACD แบบเป็น  Histogram บ้าง

อันดับแรก แก้งานตั้งค่า ตามรูปก่อน




หลังจากแก้ไขรูปแบบ เสร็จแล้ว จะได้ indicator ของ MACD เป็นรูป แบบแท่งๆ คล้ายๆเป็นคลื่น หรือภูเขา แล้วแต่จะเรียก

มาสร้างรูปแบบที่ทำความเข้าใจง่ายๆกันก่อนดีกว่า

โดยที่ เราจะให้เส้น VLINE = 0 มองเป็น ผิวดิน “ /  เหนือเส้น VLINE เป็น ภูเขาและ ใต้เส้น VLINE เป็น คลื่นใต้น้ำ




จากสิ่งที่เกิดขึ้นใน MACD เราจะตอบได้อีกรูปแบบนึง การที่ เส้น Histogram อยู่เหนือเส้น VLINE รูปแบบเป็นภูเขา ลูกๆ จะมองเป็น เทรนขาขึ้น  และ เมื่ออยู่ใต้ เป็นคลื่น มองเป็นเทรนลง



รูปแบบที่ได้คือ จะซื้อเมื่อยืน เหนือเส้น VLINE = 0.00 และ ขายเมื่ออยู่ใต้เส้น VLINE = 0.00


จะมีรูปแบบที่เอามาใช้ในการ ช่วยดูทิศทางทดสอบ หาจุดรับเพิ่ม หรือจุดที่ทดสอบแล้วไม่ผ่านโดยวัดจาก คลืนลูกซ้าย ไปหา คลื่นขวา  หรือจะเป็น ภูเขาด้านซ้าย ไปหา ภูเขาด้านขวา ตามรูปภาพ

ให้ H1 คือ ภูเขาด้านซ้าย และ H2 คือภูเขาด้านขวา   เช่นกัน L1คือ คลื่นด้านซ้าย และ L2 คือ คลื่นด้านขวา



เราวิเคราะห์อะไรได้จากตรงนี้บ้าง จุดที่เกิดขึ้นทางด้าน ซ้าย คือ H1 หรือ L1 จะเป็นความสูงที่เกิดขึ้นล่าสุด หรือคลืนที่ลึกที่เกิดขึ้นล่าสุด

จุดตรงนี้จะเป็นแนวรับและแนวต้านให้กับ H2 หรือ L2 ที่เกิดใหม่ได้ เช่น ถ้า MACD Histogram ของ L2 ลงมาต่ำกว่า L1 จุดที่จะเข้าซื้อ ยังต้องรอต่อไปและมีแนวโน้มที่จะลงไปได้อีก

ในทางกลับกัน ถ้า H2 เกิดขึ้นใหม่ สูงกว่า H1 ก็จะเป็นจุดเข้าซื้อได้เช่นกัน



รูปแบบที่เกิดขึ้นจะได้ตามภาพ

ข้อระวังในรูปแบบนี้ จะมีรูปแบบ ที่เรียกว่า divergence คือสัญญาณขัดแย้งของทางเทคนิค ซึ่งจะขอยกไปอธิบายรวบไปในเรื่อง เทรนไลน์อีกครั้ง

เทรนไลน์ ฉบับ Mini มาลองทำกัน

เทรนไลน์

อันดับแรกสำหรับการเริ่มใช้เทรนไลน์นั้น

สำคัญที่สุดคือการหา จุด high และ low ที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะจุด  โดยที่กำหนดให้

Hx  = high ใดๆที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะช่วง  ( x = 1 , 2 , 3 , 4 )
Lx  = low  ใดๆที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะช่วง  ( x = 1 , 2 , 3 , 4 )


จะได้ตามภาพ


ซึ่งจุดที่กำหนดในแต่ล่ะข่วง จะใช้มากำหนดเพื่อ ลากเส้น เพื่อดูแนวโน้มของรูปแบบ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ในส่วนเริ่มต้นจะเริ่มต้นโดยการลากเส้นเดียว เพื่อหาจุดพักตัวเพื่อเข้าซื้อและขายออก เมื่อหลุดแนวโน้ม ยกตัวอย่าง จากด้านซ้ายไปหาขวา

ถ้าเราปิดด้านขวาบางส่วนโดยที่เริ่มต้นจากการลากเส้น จาก L1 ไปหา  L2 ซึ่งถ้าตามรูปแบบเทรนทำในลักษณะขาขึ้น  ในกรณีที่รอการพักตัว วงกลมสีชมพูเราจะมองเป็นแนวรับถัดไป ถ้าไม่หลุดเส้นจะเป็นจุดที่เข้าซื้อ  

ตามภาพที่ 2



เมื่อเราสมมุติว่าด้านขวาคือจุดที่ยังไม่เกิดขึ้น เวลาผ่านไป ตลาดจะเฉลยภาพออกมาว่าสิ่งที่เรา คิดถูกไหมก็จะได้ ตามภาพที่  3



จะเห็นว่าจุดนี้สามารถยังคงสภาพเทรนได้ ก็จะตอบได้ว่าเทรนยังไปเปลี่ยน แล้วถือต่อไปเรื่อย

*** เมื่อใดที่เทรน ยังไม่เปลี่ยนเราก็ไม่จำเป็นต้องปรับกราฟไหม ***

เราจะถือไปเรื่อยๆจนกระทั่ง ...............  เมื่อหลุดเทรน จุดนี้จะเป็นจุดขายจุดแรกก่อน แล้วรอ... 




แล้วเราก็รอจนเกิด Low ใหม่ กลายเป็น  L3 ตามภาพถัดมา  ซึ่งแน่นอน เราจะใช้ L2 และ L3 ลากเพื่อลองสร้างเทรน ถ้าวิ่งบน เส้นนี้ได้ ก็จะเข้าซื้อ เช่นกันถ้าหลุดอาจจะต้องคัทออกมา เนื่องจากเทรนขาขึ้นยังไม่เกิด

ตามภาพ โดยดูที่เส้นสีเหลือง


เมื่อขึ้นไปได้ซักระยะนึง เราจะเห็นว่าการปรับ ตัวขึ้นแล้วย่อลงมา โดยจุดนี้ มองเป็น high ใหม่ ที่ H5 และเส้น เทรนสีเหลืองที่ ลากจาก  L2  ไป L3 จะเป็นแนวรับ 

สิ่งที่เพิ่มเติม เราจะลองลากเส้น จาก H4 ไปหา H5  จุดนี้ถ้าทะลุเส้นสีฟ้าได้เราจะองเป็นทะลุแนวต้าน เป็นจุดเข้าซื้อสะสม

ตามภาพ


เมื่อลองขยับภาพจะเห็นว่าจุดชมพูไม่สามารถทะลุเทรนไปได้  ก็อาจจะเป็นจุดที่ขายก่อน หรือรอดูแนวโน้มของเทรนสีเหลืองก่อน  แต่จุดที่ทะลุเทรนได้เป็นจุดสีเหลือง  จุดนี้ล่ะที่เป็นจุดซื้อจริงล่ะ เพราะเรามองมันคือการทะลุแนวต้าน เราะ follow trade ตามน้ำไป



ปรับภาพตามวันเวลา เมื่อเวลาผ่านไป เส้นสีฟ้า กับเหลืองจะกลายเป็นแนวต้าน เมื่อกราฟหลุดเส้นเทรนที่เป็นแนวรับ  จากภาพ จุดสีแดง 2 จุดจะกลายเป็นจุดขายตามรูปแบบที่หลุดเทรน



เมื่อหลุดแล้วก็รอ ที่นี้ก็จะต้องหาแนวรับใหม่ โดยอาจจะลากจาก จุด H2 ไปหา L3  และ H3 ไปหา L3 ตามภาพจะพบว่า ที่เส้นสีขาวไม่สามารถรับได้เนื่องจากหลุดเส้น ณ จุดนี้จะยังไม่ซื้อ เราถือว่ายังไม่มีการปรับเทรน แล้วมองเพิ่มเติม รอที่จุดเส้นชมพู จะเห็นว่าจะรับได้ตรงนี้

ดังนั้น ที่ low ของเส้นชมพู ก็จะได้เป็น  L4



หลังจากที่ปรับตัวได้ ที่ L4 เส้นสีขาว และเส้นสีเหลืองเดิมจากแนวรับ ก็กลับไปเป็นแนวต้าน อีกครั้ง จะซื้อเพิ่มได้เมื่อผ่านเส้น  เช่นกันก็จะเป็นจุดขาย ถ้าไม่ผ่าน ปรับภาพไปเรื่อยจะได้ออกมาตามภาพนี้ ซึ่งก็ไม่ทะลุก็ต้องขายออกแล้วรอจังหวะใหม่



เมื่อกราฟปรับตัวลงมาไม่ถึง Low เดิมที่ L4 เราจะลองลากเส้นเบรค เพื่อหาจุดเข้าซื้อโดยลากผ่าน H6 ไป H7  และในส่วนแนวรับ ที่ L4  ไป L5 ซึ่งทะลุได้ เราก็ซื้อตาม ตามภาพ



เมื่อทะลุได้แล้ว เส้นชมพูก็กลายเป็นแนวรับต่อไป ภาพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนเกิด high ใหม่ที่ H8 ลองลากผ่าน จาก H6 มา H8 เพื่อหาเบรคใหม่ถ้าย่อมาแล้วไม่ถึงเส้นชมพู  หรือที่เส้นชมพูรับได้

จุดซื้อสะสมจะเกิดที่เส้นชมพู  และรับเพิ่มเมื่อทะลุเส้น เบรค สีเหลือง



เมื่อทะลุก็เข้าตามรูปแบบ  กราฟก็จะวิ่งต่อได้ตามรูปแบบนี้



หลังจากนั้นก็ถือรอ เมื่อเส้นแนวรับ ชมพูเป็นแนวรับใหญ่ที่ทำงานได้อยู่ จนถึงภาพ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะรอการลงมาทดสอบเส้นอีกครั้งก็เป็นได้ สถานะแบบนี้ก็เป็นการฝ้ารอแนวโน้มกับทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง

ซึ่งหลังจากนี้กราฟจะเป็นยังไงต่อ  ตลาดจะเป็นคนเฉลยเอง ขึ้นอยู่กับเราจะวางใจเป็นกลางตามเทรนได้หรือไม่

ภาพสุดท้าย ของบทนี้ ณ วันที่ 25  - 02 -2558